#เปิดกล่อง ส่องประเด็น BOX 1: มีใครบ้างสร้างบอร์ดเกม

จากกล่องเกมที่วางขายในร้านค้า หรือที่ถูกหยิบมาใช้เป็นสื่อการสอนต่างๆ ปลายทางที่ปรากฏเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จเสร็จสมบูรณ์อยู่ในกล่องหนึ่งใบนั้น คือผลลัพธ์จากการร่วมมือของผู้คนมากมาย จากจุดเริ่มต้นของการคิดจะทำเกมไปจนถึงปลายทาง เกมกล่องนึงเดินทางผ่านการร่วมมือของใครบ้าง? แน่นอนว่าหากเราคิดจะออกแบบเกมแล้ว นี่เป็นหนึ่งประเด็นที่สำคัญที่เราต้องคำนึงถึง

สำหรับนิทรรศการที่งาน Thai Board Game Creators ที่ TCDC ชั้น 5 ทีมงาน Wizards of Learning ตกตะกอนประเด็นเกี่ยวกับการออกแบบเกมไว้ 15 ประเด็นด้วยกัน โดยจับประเด็นจัดแสดงลงในกล่องให้ผู้เข้าชมได้ลองเปิดเล่นสำรวจความสนุกและสาระดู เราจะมาขยายความประเด็นในแต่ละกล่องและเรียบเรียงเป็นบทความย่อยง่ายให้ทุกคนได้อ่านกัน ในบทความนี้เราขอเสนอ “มีใครบ้างสร้างบอร์ดเกม”

มีใครบ้างสร้างบอร์ดเกม

เราพาคุณมาสำรวจว่า เกมกล่องนึงเดินทางผ่านการร่วมมือของใครบ้าง เพื่อจะได้เห็นภาพของเครือข่ายของความร่วมมือนี้ได้ชัดเจนขึ้น และสำรวจแต่ละบทบาทของผู้คนมากมายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการของการสร้างสรรค์นี้ โดยจะแบ่งขั้นตอนในกระบวนการออกแบบเกมทั้งหมดได้เป็น 3 ส่วนคร่าวๆ คือ 1. การพัฒนาโจทย์ 2. การพัฒนาตัวเกม 3. การผลิตชิ้นงานและขยายผล


การพัฒนาโจทย์

ขั้นตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องของการจับประเด็นให้ตรงจุดจากความต้องการเบื้องต้นในการเริ่มทำเกม ไปสู่ working brief ที่ใช้งานได้จริง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเป็นการจับแก่น ล็อคเป้าหมายในการออกแบบเกม และวางทิศทางสำหรับการทำงานในขั้นตอนถัดไปได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเพื่อให้ไม่เกิดความผิดพลาดอันจะทำลายจุดประสงค์ในการสร้างเกมขึ้นมาได้ ในขั้นตอนนี้ เรามาพูดถึงผู้คน 4 บทบาทด้วยกัน

1. เจ้าของโจทย์

บุคคลแรกที่เราจะกล่าวถึงคือ เจ้าของโจทย์ ผู้ริเริ่มเจตจำนงในการสร้างเกมขึ้น เจ้าของโจทย์นั้นอาจจะเป็นองค์กร หรือหน่วยงานที่เลือกใช้บอร์ดเกมเพื่อสื่อสารเนื้อหาหรือข้อมูลที่ต้องการเผยแผ่ หรือจะเป็นคุณครูที่ต้องการพัฒนาสื่อการสอน ซึ่งนอกจากจะมีไอเดียแล้วยังต้องมีทุนในการผลิตตัวเกมด้วย

2. นักออกแบบเกม

ผู้นำความตั้งใจของลูกค้า ผลิตพัฒนาผ่านกระบวนการทั้งหมดให้ออกมาเป็น ชิ้นงานเกมที่สมบูรณ์ ในเวลาที่จำกัดด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐาน

3.ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จะคอยตรวจเช็คความถูกต้องของเนื้อหาและข้อมูลที่ถูกเล่าถึงผ่านตัวเกม

4. Target User

ผู้ใช้งานที่เป็นเป้าหมายหลักของการออกแบบเกม เป็นกลุ่มผู้คนที่เกมออกแบบมาเพื่อตอบสนองโดยตรง โดยตัวเกมจะมีระยะความยาว ความซับซ้อน และ จำนวนคนในการเล่นที่ตอบสนองพฤติกรรมในการใช้งานของคนกลุ่มนี้อย่างชัดเจน


การพัฒนาตัวเกม

เมื่อได้โจทย์ที่ตรงจุดประสงค์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพัฒนาตัวเกมให้สามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุดในกรอบเวลาที่ถูกกำหนดมา การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะถูกย่อยออกเป็นหลายๆ องค์ประกอบแยกกันไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องประสบการณ์ในการเล่นที่ได้รับจากการเลือกใช้องค์ประกอบในแบบต่างๆ ของนักออกแบบ การออกแบบการใช้งานของอุปกรณ์ในเกม การจัดองค์ประกอบระหว่างภาพและตัวอักษรในเกม การวาดตัวภาพขึ้นเป็นงานศิลป์ประกอบในเกม และการสื่อสารกติกาของเกมที่ออกแบบเสร็จเรียบร้อยให้ผู้เล่นเข้าใจ เพื่อให้เกมมีความเหมาะสมมากที่สุด มาดูกันว่าจะมีใครบ้างที่ทำงานในขั้นตอนนี้

4. Playtester

ผู้เชี่ยวชาญด้านบอร์ดเกมที่จะวิจารณ์เรื่องประสบการณ์การเล่นที่ได้จากตัวต้นแบบเกม

5. Graphic Designer

ผู้ออกแบบภาพ สัญลักษณ์ และข้อความมาจัดวางองค์ประกอบลงในอุปกรณ์แต่ละชิ้นในบอร์ดเกม เพื่อการสื่อสารในเกมที่เข้าใจได้ง่ายและถูกต้องตรงกับจุดประสงค์ของเกม

6. Product Designer

ออกแบบอุปกรณ์และรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ในเกม

7. Illustrator

นักวาดภาพประกอบ ออกแบบฉาก หรือตัวละคร ที่ถูกใช้ในส่วนต่างๆ ของเกม

8. Rulebook Editor

ตรวจทานและแก้ไขตัวคู่มือในการเล่นเกมให้ผู้เล่นเข้าใจได้ง่ายและถูกต้องตามจุดประสงค์ของเกม


ผลิตชิ้นงานและขยายผล

เมื่อตัวเกมถูกพัฒนามาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลานำผลงานออกมาสู่โลกอย่างเป็นรูปธรรมในขั้นตอนการผลิตชิ้นงาน ไม่เพียงแต่เท่านั้น ถึงแม้ได้เกมออกมาเป็นกล่องแล้ว ผลงานชิ้นนี้ก็ยังจะไม่สามารถถูกส่งไปถึงผู้ใช้งานปลายทางได้ หากไม่ได้รับการพูดถึงและการส่งต่อในหลายๆทาง และนำตัวเกมนี้มาจัดกิจกรรมโฆษณา สร้างความเข้าใจ และอธิบาย เพื่อขยายผลให้ส่งไปถึงมือผู้รับเพื่อให้ใช้งานได้ตรงตามจุดประสงค์ให้จงได้ เราขอเอ่ยถึง 4 บทบาทในขั้นตอนนี้ดังนี้

9. โรงพิมพ์

ผลิตเกมออกมาเป็นชิ้นส่วนที่ใช้งานได้จริงพร้อมจําหน่าย

10. Content Creator

โปรโมทบอร์ดเกมและกิจกรรมผ่านช่องทางต่างๆ ในสื่อให้บอร์ดเกมได้เป็นที่รู้จักและสนใจ

11. Workshop Organizer

จัดกิจกรรมการใช้งาน และทําความเข้าใจบอร์ดเกม ให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ที่ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบ

12. ร้านค้า

จําหน่ายเกมจากหลายมุมของโลก ส่งต่อสู่มือผู้คนมากมาย

เห็นม้าาา…

กว่าเกมหนึ่งกล่องจะผ่านกระบวนการจากต้นจนจบมาได้นั้น ต้องผ่านมือผู้คนมากมายหลากหลายบทบาท แต่ละคนมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนที่ต่างกัน และใช้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลายเพื่อพัฒนาจากไอเดียเริ่มต้นไปสู่ตัวเกมที่เสร็จสมบูรณ์ที่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานในเวลาที่กำหนดให้ได้ และนำส่งไปให้ถึงมือผู้ใช้งานปลายทางได้อย่างตรงจุดประสงค์ และนี่คือกระบวนการพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในการผลิตบอร์ดเกมที่ได้มาตรฐานหนึ่งกล่องออกมา ซึ่ง Wizards of Learning นั้นคุ้นเคยเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน สนใจออกแบบเกม หรือสั่งผลิตเกม หรือทำงานเพื่อขยายผลหลังจากผลิตเกมกับเราติดต่อได้ทางกล่องข้อความในหน้าเว็บนี้ได้เลย

ไม่ใช้นักออกแบบเกมก็ช่วยพัฒนาเกมได้

อ่านแล้วคุณอยู่ในบทบาทไหนบ้าง เขียนบอกไว้ในคอมเม้นท์ (มากกว่า 1 บทบาทก็ได้นะ) ให้พวกเราและคนอื่นๆ ได้รู้จักกันเผื่อมีโอกาสมาช่วยกันทำบอร์ดเกมออกมากันนะ

No Comments

Post A Comment