#เปิดกล่อง ส่องประเด็น BOX 2: กล่องสุ่ม

“กล่องสุ่ม” เป็นวลีที่มีความหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ วงการในปัจจุบัน โดยถูกนิยามขึ้นสำหรับสถานการณ์ที่ผู้ได้รับของไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดได้ว่าของที่ตนจะได้คืออะไร สำหรับบอร์ดเกมแล้ว การสุ่มเป็น mechanic หนึ่งที่ถูกใช้เป็นพื้นฐานในหลายๆ เกม และการออกแบบการสุ่มนั้นก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจในการออกแบบเกม

ทีมงาน Wizards of Learning ตกตะกอนประเด็นเกี่ยวกับการออกแบบเกมไว้ 15 ประเด็นด้วยกันสำหรับนิทรรศการที่งาน Thai Board Game Creators ที่ TCDC โดยจับประเด็นจัดแสดงลงในกล่องให้ผู้เข้าชมได้ลองเปิดเล่นสำรวจความสนุกและสาระดู เราจะมาขยายความประเด็นในแต่ละกล่องและเรียบเรียงเป็นบทความย่อยง่ายให้ทุกคนได้อ่านกัน ในบทความนี้เราขอเสนอ “กล่องสุ่ม”

สุ่มเกมที่คุณจะได้ออกแบบ…?

“กล่องสุ่ม” ของ Wizards of Learning นี้ไม่ธรรมดา เพราะผลจากการสุ่มนี้จะทำให้คุ้นได้ลุ้นว่า “เกมที่คุณจะออกแบบ” นั้นจะเป็นเกมแบบไหน จะเป็น “เกมแข่งกันทำอาหารที่มีสัตว์ประหลาดไล่ล่า” หรือ “เกมช่วยกันจัดการน้ำท่วมที่มีการคอรัปชั่น” หรือ คุณเองจะได้เกมแบบไหน…. ไปลองเล่นกันได้ ที่ TCDC ชั้น 5

โดยวิธีที่จะได้ชื่อเกมเหล่านี้มานั้นก็ไม่ธรรมดา เพราะเราได้ยกตัวอย่างการสุ่มแบบคลาสสิกมา 3 วิธีการ คือ 1. ลูกเต๋า 2. การ์ด 3. ถุงสุ่ม token มาให้ได้ลองประสบการณ์สุ่มแบบต่างๆ กันเพื่อเป็นไอเดียในการออกแบบเกมที่อยากให้ผู้เล่นได้ลุ้นกันได้

1. ลูกเต๋า

การสุ่มโดยใช้ลูกเต๋านั้นมีข้อจำกัดอยู่ที่จำนวนด้านบนลูกเต๋า ซึ่งก็มีหลากลายประเภทด้วยกันไม่ว่าจะเป็น เต๋า 4 ด้าน เต๋า6 ด้าน เต๋า 10 ด้าน 20 ด้าน

วิธีการใช้ลูกเต๋านั้น นอนจากที่ตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าจะถูกใช้เป็นตัวตัดสินหรือบอกจำนวนของการกระทำบางอย่างในบอร์ดเกมแล้ว ยังมีลูกเต๋าแบบสั่งทำพิเศษ ที่แต่ละหน้าของลูกเต๋าจะสามารถมีข้อมูลแบบอื่นๆที่ไม่ใช่เลขตามปกติ โดยอาจใช้แทนสัญลักษณ์ของทรัพยากรในเกม เป็นต้น

ตัวอย่างเกมที่ใช้ลูกเต๋า ได้แก่

Dice Forge, King Tokyo, Roll Player, Dice Throne, Bang, Elder Sign, Sagrada, Machi Koro 2, Kingdomino, Space Base

2. การ์ด

วิธีนี้คือการเลือกใช้การ์ดที่มี 2 หน้า โดยมีหน้าที่ข้อความหรือรูปภาพสำคัญไว้ด้านหนึ่งของการ์ด และฝั่งด้านหลังของการ์ดจะเห็นเพียงลวดลายที่เหมือนกันทั้งหมด การสุ่มของการ์ดนั้นอาจสุ่มจากบนมือของผู้อื่น หรือหยิบจากกองสุ่มก็ได้

ตัวอย่างเกมที่ใช้การสุ่มการ์ด ได้แก่

Magic: the Gathering, UNO

3. ถุงสุ่ม token

วิธีการสุ่มแบบนี้ทำได้โดยการใส่วัตถุที่เราต้องการให้สุ่มที่มีรูปร่างเหมือนกันลงในถุงทึบ เพื่อให้ผู้เล่นสุ่มวัตถุนั้นออกมา

ตัวอย่างเกมที่ใช้ถุงสุ่ม token ได้แก่

crossword, bingo

หลากรสความลุ้น

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการสุ่มอีกหลายแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น spinner, roulette, และอื่นๆอีกมากมาย ที่รอให้ทุกคนได้ค้นพบในโลกบอร์ดเกมอันกว้างใหญ่นี้ โดยแต่ละวิธีการในการสุ่ม ก็จะใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมือนกัน และให้ความรู้สึกที่ต่างกันขณะที่ถูกใช้ในเกมอีกด้วย สำหรับคุณแล้วมีวิธีการสุ่มแบบไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษหรือไม่ มาร่วมพูดคุยกันได้ในคอมเมนท์เลยค่ะ

ถ้าอ่านยังไม่จุใจ ไปดูงานเต็มของ Wizards of Learning กันได้ที่ TCDC ชั้น 5 ยังมีเนื้อหาด้านอื่นๆ ที่สำคัญในการออกแบบบอร์ดเกม ใครสุ่มได้เกมอะไรถูกใจเขียนไว้ในคอมเม้นนี้กันได้เลย

No Comments

Post A Comment