อยากจะSHARE! EP.3 คิด ทำ เทส

EP.3 คิด ทำ เทส

จากหลาย EP. ที่ผ่านมา เราคิดว่าทุกคนคงพอเห็นภาพของ toolbox มากขึ้น ใน EP.3 นี้ จะเป็นการเล่าถึง Toolbox ในขั้นตอนที่เหลือทั้งหมด ตั้งแต่การคิด การทำต้นแบบ การเทส และผลสรุปทั้งหมด เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราลองมาอ่านกันเลยดีกว่า

 

4.Ideate

Brainstorming

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการระดมความคิดหาทางออก หรือแก้ปัญหานั่นเอง แต่มันไม่ใช่การคิดอะไรไปเรื่อย เราต้องคิดอะไรที่มันสามารถเป็นจริงได้ ยิ่งเรามีไอเดียมาก ก็จะมีวิธีแก้ปัญหาที่มากขึ้น และคิดให้นอกกรอบไว้ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินไปก่อนว่าสิ่งนั้นไม่ดี หรือทำไม่ได้ เช่น บอร์ดเกมก็ต้องมีการ์ดเป็นองค์ประกอบ ถ้าไม่มีก็เล่นไม่ได้ อย่างนี้จะเป็นการจำกัดความคิดเราไว้ว่าเกมจะต้องมีการ์ดเท่านั้น แล้วถ้าไม่มีการ์ดมันเล่นได้ไหม เราจะใช้อย่างอื่นเป็นองค์ประกอบไม่ได้หรอ?

 

Dot voting

หลังจากที่เราได้ไอเดียกันแล้ว แน่นอนว่ามันไม่ได้มีแค่ไอเดียเดียว จึงต้องมีการเลือกหาอันที่ดีที่สุด แล้วจะเลือกจากอะไร เราจะใช้วิธีที่ทุกคนคุ้นเคย คือ การโหวตนั่นเอง โดยให้เราโหวตกันว่าไอเดียไหนที่เราเห็นด้วย คิดว่าดี มีความเป็นไปได้ ลองแชร์กันว่าทำไมถึงคิดแบบไหน แล้วจึงรวบรวมอันที่คนโหวตเยอะสุดไปใช้ต่อ

 

Sketch note

เป็นการเปรียบเทียบ และหาข้อดีของแต่ละอันมาใช้ โดยเราจะ sketch รูปแบบไว้หลายๆ แบบ แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาว่าไอเดียไหนดีกว่ากัน หรือแต่ละอย่างมันดีตรงไหน จุดไหนที่เราชอบบ้าง จากนั้นก็นำมาปรับเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่น เกมแรก เราอาจจะชอบการเล่าเรื่อง แต่ไม่ชอบวิธีเล่น ส่วนเกมสอง ชอบวิธีเล่น แต่การเล่าเรื่องยังไม่น่าสนใจ เราก็ลองนำข้อดีของทั้งสองเกมมาปรับรวมกันก็จะได้เกมที่ดียิ่งขึ้น

 

Inspiration

มันจะมีบางครั้งที่เรามักคิดอะไรไม่ออก สมองไม่แล่น การออกไปหาแรงบันดาลใจจากที่ต่าง ๆ ก็เป็นตัวช่วยที่ดี อาจจะหาจากอินเตอร์เน็ต หาจากร้านบอร์ดเกม หรือหอศิลป์ นอกจากช่วยให้เราผ่อนคลายแล้ว ยังอาจช่วยให้เรามีไอเดียใหม่ๆ ก็ได้ ลองมองหาดูว่า มีตรงไหนของงานที่เราชอบ หรือคิดว่ามันดีบ้าง หรือมีตรงไหนที่ไม่ดี ถ้าปรับแบบนี้จะดีไหม ก็ลองนำมาเป็นแรงบันดาลใจ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเรา

 

5. Prototype

Prototype to test

หลังจากที่เรารวบรวมไอเดียได้แล้ว เราก็ต้องลงมือทำ โดยเริ่มจากทำต้นแบบอย่างง่าย เพื่อดูว่าไอเดียนั้นมันสามารถเป็นไปได้ไหม สิ่งสำคัญคือ เราต้องคำนึงถึงผู้เล่นด้วย ถ้าทำต้นแบบมาแล้วเล่นจริงไม่ได้ หรือไม่เข้าใจ งงกับการเล่นก็เท่านั้น หลังจากที่ทำตัวต้นแบบเสร็จแล้ว เราก็จะนำไปเทสจริง โดยเทสกับตัวเอง เทสกับผู้เชี่ยวชาญ แล้วพัฒนาต้นแบบให้ดีขึ้น เพื่อไปเทสกับผู้ใช้จริงต่อไป

 

6.Test

Testing sheet

การวางแผนการทดสอบ เราต้องกำหนดก่อนว่า ต้องการผลลัพธ์อะไรจากการเทสนี้บ้าง คำถามที่จะถามมีอะไรบ้าง ผู้เล่นๆ แล้วเป็นยังไง สิ่งที่เราคาดหวัง/ไม่คาดหวังให้เกิดขึ้นในการเทส บางคำถามอาจไม่สามารถตอบได้จากการพูดคุย แต่ต้องใช้การสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้เล่นแทน เช่น เล่นแล้วถามคำถามเดิมๆ หรืองงกับจุดใดจุดหนึ่งบ่อย ๆ ก็จะทำให้เรารู้ว่าวิธีเล่นตรงจุดนั้นยังไม่ชัดเจนพอ หรือยังอธิบายไม่เข้าใจ

 

Solution interview

การสัมภาษณ์ความรู้สึกหลังจากลองเล่นว่าเป็นยังไงบ้าง รู้สึกยังไงหลังเล่นเสร็จ เล่นแล้วติดตรงไหน หรือมีตรงไหนที่ชอบ หรือคิดว่าดีบ้าง เพื่อเป็นฟีดแบคไว้ใช้ในการปรับปรุงต่อไป

 

Feedback capture grid

นำฟีดแบคที่ได้จากการเทส มาแบ่งเป็นส่วน ๆ โดยแบ่งเป็น

          …I like ชอบอะไรในเกมนี้?

          …I wish คาดหวังอะไรต่อไป?

          …Question เล่นแล้วมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไรไหม?

          …Idea มีข้อเสนอแนะ หรืออยากเสนอไอเดียหรือเปล่า?

จากนั้นหาสาเหตุว่าทำไมถึงเป็นอย่างงี้ ส่วนไหนที่ชอบก็เก็บไว้ ส่วนไหนที่มีข้อสงสัยก็หาทางแก้ คำแนะนำที่ได้ก็ลองนำไปปรับแก้ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดียิ่งขึ้น

 

A/B Testing

เหมือนกันกับการคิดไอเดีย ถ้าเรามี prototype แค่แบบเดียว เราก็จะได้ผลจากการเทสแบบเดียว แต่ถ้าเราทำ prototype หลายๆ แบบแล้วนำไปเทสก็จะได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน เราจะสามารถเปรียบเทียบได้ว่าชอบแบบไหนมากกว่ากัน ชอบตรงไหนบ้าง ไม่ชอบตรงไหนบ้าง จากนั้นนำผลที่ได้ไปปรับเป็น prototype ใหม่

 

7.Reflect

I like, I learn, I wish, I wonder

เป็นการพูดในเชิงบวก พูดแต่สิ่งที่ดี จะช่วยให้เห็นส่วนที่ดีในการทำงาน และช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลไว้ โดยจะแบ่งเป็น

          ….I like ชอบอะไร?

          …I learn ได้เรียนรู้อะไร?

          …I wish สิ่งที่คาดหวังต่อไป?

          …I wonder สิ่งที่สงสัย อยากรู้ต่อ?

จากนั้นเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นแนวทางในการทำเกมต่อ ๆไป

 

Create a pitch

ทุกครั้งในการทำงานร่วมกัน จะต้องมีการอัพเดทงานกันว่าแต่ละคนทำอะไรถึงไหนแล้ว เกิดปัญหาอะไรบ้างไหม มีวิธีการแก้ปัญหายังไง และจะทำอะไรต่อไป เพื่อให้ทุกคนรู้ และสามารถวางแผนงานของตัวเองได้

 

Lessons learned

เป็นการนำบทเรียนที่ได้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานของเราให้ดียิ่งขึ้น โดยนำทั้งเรื่องที่คิดว่าดี และไม่ดีมาพูดคุยกัน เรื่องไหนที่ดีก็นำไปใช้ต่อ และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เรื่องไหนที่ไม่ดีก็จำไว้เป็นบทเรียน อย่าทำผิดพลาดเป็นครั้งที่สอง

 

ก็จบไปแล้วกับ Toolbox ทั้งหมดที่เรานำมาใช้ในการออกแบบบอร์ดเกม เราจะเห็นได้ว่า Toolbox แต่ละอันก็เหมาะที่จะใช้งานในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป บางอันอาจมีไว้เพื่อใช้ในการตั้งคำถาม บางอันอาจใช้ในการพูดคุย เพื่อรวบรวมความคิด หรือบางอันอาจใช้เพื่อประเมินผล เราก็ต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับขั้นตอนการทำงานของเราเอง

 

สุดท้ายนี้ อยากฝากทุกคนไว้ว่า ขั้นตอนและ Toolbox ทั้งหมดนี้ เป็นแค่ความคิดเห็นของเราเท่านั้น บางคนอาจจะมีวิธีการ หรือเครื่องมือที่ไม่เหมือนกับเราก็ได้เช่นกัน ใครที่อยากจะแชร์ Toolbox ที่ตัวเองใช้ ก็สามารถนำมาแชร์เพื่อพูดคุยกันได้ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ค่ะ

 

ข้อมูลที่นำมาแชร์นี้ มีแหล่งอ้างอิงมาจาก :

Michael Lewrick, Patrick Link, Larry Leifer. (2020). The Design Thinking Toolbox. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

 

เรื่องและภาพประกอบ: บุณยวีร์ พฤกษาเกษมสุข

No Comments

Post A Comment