![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/WoL-balance.jpg)
10 เม.ย. ความสมดุลในการออกแบบบอร์ดเกม
ความสมดุลเกี่ยวกับบอร์ดเกมอย่างไร มันคือน้ำหนักหรือเปล่า เกี่ยวกับการแบ่งทีมหรือไม่ วันนี้ Wizards of Learning นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังครับ
“ความสมดุล” หรือ Balance คือ การที่ไม่มีอะไรดีเกินไปหรือไม่แย่เกินไป ที่ส่งผลให้ปิดโอกาสให้ผู้เล่นคนอื่นไม่สามารถชนะได้ หรือทำให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งได้เปรียบมากเกินไป
ในการออกแบบบอร์ดเกมในแต่ละเกม “ความสมดุล” ก็อาจสำคัญมากในเกมบางเกม แต่ในบางเกมก็อาจมีความสำคัญน้อยว่าเรื่องอื่นๆ แตกต่างไปตามรูปแบบความสนุกและกลุ่มเป้าหมาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
บทความนี้จึงขอยกตัวอย่างเกมที่ Wizards of Learning ได้ออกแบบไว้ นำมาเล่าถึงแนวคิดในการออกแบบเกม และความสำคัญของความสมดุลในแต่ละเกม
![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/Artboard-1@2x-resize2-300x300.png)
การออกแบบ Pizza Master
เป็นเกมที่ค่อนข้างเน้นความ balance และ catch up mechanic (กลไกในการลดการทิ้งห่าง) มากๆ เพราะเป็นเกมครอบครัว ที่มุ้งเน้นที่ทักษะการจัดการให้สามารถทำภารกิจให้สำเร็จเพียงด้านเดียว
และใน version ใหม่ได้ปรับความสมดุลในมิติของจำนวนการ์ดและ bonus ท้ายจาก feedback ใน version ก่อนหน้าแล้ว
เส้นทางพัฒนา กว่าจะมาเป็น PIZZA MASTER
เบื้องหลัง PIZZA MASTER นักออกแบบเขาคิดอะไรอยู่นะ
![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/LHS-3d-box-300x300.png)
การออกแบบ Last Hand Standing
เกมนี้ยอมรับว่าไม่ได้เน้นความ balance เลย เพราะเป็นเกม party ที่เน้นโจมตีคนอื่นและจบเร็ว เน้นให้ความสนุกอยู่ที่ดวงและตัดสินใจเฉพาะหน้าเป็นหลัก และความไม่แฟร์ที่เกิดขึ้นในเกมนี้จะขับเน้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นมากยิ่งขึ้นได้
คิดว่าหากใส่ความสมดุลลงในเกมประเภทนี้มากเกินไป จะทำให้เกมเสียความสนุกไปครับ
Last Hand Standing: The Content-Creator Contest
![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/00-OZ-3D-box-300x300.png)
การออกแบบ Ozonor
การสร้างความสมดุลในเกมนี้ ผมได้ลองทดสอบวิธีการเล่นทั้ง 5 สายใน โดยพยายายทดสอบในกรณี best move โดยควบคุมไม่ให้มีสถานการณ์กลาง ปรับจนได้ผลลัพธ์ในการเล่นแต่ละแนวทางออกมาใกล้เคียงกัน
เพราะตัวเกมเน้นให้ผู้เล่นเลือกปรับแผนการเล่นให้เหมาะสมกับสถานการณ์กลาง ที่มีทั้งปัจจัยด้านนโยบายและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป้าหมายเพื่อผู้เล่นได้คิดและตัดสินใจแนวทางในการการปรับโรงงานไปสู่โรงงานสะอาดในสายต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/WJ-3d-box-300x300.png)
การออกแบบ Water Journey
นี้เป็นอีกเกมเกมนี้ผมคำนวนตาราง excel หนักมาก เป็นเกมอีกเกมทีนำเสนอข้อมูลงานวิจัยออกมา นั้นก็เพื่อให้แต้มในแต่ละใบ สะท้อนถึง action ที่ใช้ไปได้ตรงที่สุด เพราะเกมจะเน้นที่หาความคุ้มค่าในการใช้น้ำครับ และให้ผลกระทบจากการกระทำแต่ละคนสะท้อนออกมาที่สิ่งแวดล้อมกลางกระดาน ที่ได้รับผลร่วมกัน
จากประสบการณ์ เกมนี้ปรับและแก้ไขเรื่อง balance ได้โหดที่สุดเกมหนึ่ง
Water Journey : เบื้องหลังการทำงาน และแนวคิดการออกแบบของเกม
WATER JOURNEY เมื่อองค์กรสื่อสาร Brand ผ่านบอร์ดเกม
![่justice game](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2022/04/00-JG-3D-box-300x300.png)
การออกแบบ Justice game
เป็นบอร์ดเกมแนววิเคราะห์ตัดตัวเลือก (deduction) ที่มีการซ่อนบทบาทด้วย ความสมดุลในเกมนี้จึงเน้นไปที่แต่ละผู้เล่นเริ่มเท่ากัน รู้ข้อมูลบางส่วนแตกต่างกันไป แลัวหลังจากนั้น ปล่อยตามการประเมินและตัดสินใจตรงหน้าของผู้เล่นแต่ละคนจะสื่อหาและวิเคราะห์ข้อมูลกันไปอย่างไร โดยในเกมสามารถบลัฟและหลอกกันได้
รูปแบบเกมมีความซับซ้อนน้อย เน้นที่การปิดข้อมูล ให้ผู้เล่นเป็นคนสร้างสถานการณ์กันเอง ซึ่งก็มีโอกาสเล็กน้อยที่จะมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่งที่โดนรุมจนรู้สึกว่าไม่แฟร์ ซึ่งขอยอมรับว่าเป็นช่องโหว่ให้เกมนี้ได้เหมือนกัน แต่ที่ยังคงไว้นั้นเพราะว่าการที่ผู้เล่นไม่รู้ว่าจำนวนคนในแต่ละทีมที่เท่าไร ก็เป็นความสนุกที่ไม่สามารถตัดออกได้เช่นกันครับ
เป็นจุดที่นักออกแบบต้องตัดสินใจเพื่อตอบประสบการณ์การเล่นที่ต้องการมากที่สุด
![](https://wizardsoflearning.com/wp-content/uploads/2020/02/box-layout-01-300x300.png)
การออกแบบ Box of Cats
แม้เกมนี้จะเป็นบอร์ดเกมเล็กๆ แต่ในการออกแบบก็พยายามให้แมวแต่ละตัวมีมูลค่าใกล้เคียงกัน โดยหักจากความรุนแรงของความสามารถมันครับ ยิ่งความสามารถดียิ่งควรมีแต้มน้อย
ในแต่อีกด้านหนึ่ง เกมนี้ก็มีส่วนที่ต้องทำให้เกิดความไม่สมดุลด้วย นั้นก็เพื่อให้เกิดการแย่งชิ่งกันระหว่างเล่นเกม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เล่นได้สนุกกับการคิดและตัดสินใจครับ
Wizards of Learning’s Products in 2019
24 Craft Board “รางวัลโปรเจ็คเกมไทยอินดี้ยอดเยี่ยม” จาก บอร์ดแล้วบ่น
#ก่อนจะเกม EP.3: Take that เกมแกล้งกัน ใครแกล้งมาแกล้งกลับ … ไม่โกง
ส่งท้าย
แต่ละเกมมีจุดที่สนุกต่างกัน ความสมดุลมีส่วนทำให้เกมสนุกได้ แต่ไม่ใช่กับทุกเกม เพราะฉะนั้นในการออกแบบส่วนที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดก็ย้อนกลับมาที่ความสนุกเสมอ และเป็นรูปแบบความสนุกนั้นต้องที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สื่อสารและกลุ่มเป้าหมายที่เล่นด้วย (เราคงไม่เอา Sherlock Holmes ไปแข่ง surf skate)
ซึ่งทางเดียวที่เราจะรู้ได้ว่าความสนุกนั้นถูกปรุงขึ้นมาได้กลมกล่อมรึยัง นั่นก็คือการทดสอบเกม หากคุณทดสอบแล้วพบความสนุกที่ผู้เล่นต้องการแล้ว แม้เกมจะไม่สมดุลแต่ความสนุกเกิดก็ใช้ได้ครับ แต่ถ้าบางทีเกมเกิดความได้เปรียบระหว่างเกมมากเกินไปจนทำให้ไม่สนุก ก็กลับมาทบทวนความสมดุลของเกมอีกทียังไม่สาย
สำหรับวันนี้ก็ประมาณนี้ครับ ขอบคุณที่ติดตาม และทำเกมออกมาทดสอบกันนะ
No Comments