Share 5 Processes of How to Design Board Games

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอนำเสนอ Content เกี่ยวกับ Share How To Design Procress Board Game
การทำบอร์ดเกมนั้นไม่มีอะไรขั้นตอนที่แน่นอน ขึ้นอยู่สไตล์การทำงานของแต่ละคน
และได้มีการสัมภาษณ์และลองยกมาเป็นกรณีตัวอย่างทั้งหมด 5 คนค่ะ
ทุกคนสามารถมาแชร์สไตล์การทำงาหรือแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

งั้นขอเริ่มจากพี่เอ็กซ์ จาก Wizards of Learing คนแรกกันเลยค่ะ~

 

พี่เอ็กซ์ จาก Wizards of Learning

 

จุดเริ่มต้นของการทำบอร์ดเกม
STEP 1 ) ลูกค้าที่จะเขาจ้างเรามา รู้จักบอร์ดเกมไหม ?  ” ถ้าไม่รู้ ” เราต้องทำให้ลูกค้ารู้จักบอร์ดเกม ผลักดันเขาให้รู้จักบอร์ดเกมให้มากขึ้น แต่ในกรณีถ้าลูกค้ารู้จักบอร์ดเกมแล้ว เราก็จะมาคุยต่อในส่วนวัตถุประสงค์ก่อนออกแบบว่า ทำเพื่ออะไร เพื่อใคร เมื่อเราได้แนวทางหรือ Concept เราก็จะไปขั้นต่อไป

STEP 2 ) ขั้นนี้เราก็จะรวบรวม Resource หรือ Set Team ให้ตรงกับโจทย์ของลูกค้าขึ้นมาจะพูดถึง Concept สิ่งที่ลูกค้าอยากจะได้ คิด Mechanics

STEP 3 ) จากนั้นก็ทำ Prototype แล้ว Test Game กับทีมพัฒนานั้นก็คือ Stage1 จากนั้นทำ Prototype หลายรูปแบบ หลายออฟชัน ถ้าไม่เวิร์ค ส่วนนี้ควรหยุด ส่วนนี้สามารถพัฒนาต่อได้ ดังนั้นการทำงานแบบมีออฟชันมีตัวเลือกคือทางที่ดีที่สุด เพราะเราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเกมมันดีหรือไม่ดี มีข้อผิดพลาดตรงไหน ตรงไหนสนุก ถ้าไม่มีตัวเปรียบเทียบ ทำแบบเดียว จะเอาแบบนี้ ทำเลย มันไม่ได้

STEP 4 ) หลังจากนั้นกลับมาคุยและเสนอ Mechanics เกมให้กับลูกค้า สิ่งที่เขาต้องการกับสิ่งที่เราเสนอไปนั้นตรงกันไหม สื่อสารไปทางเดียวกันหรือเปล่า จากนั้นนำ Feedback กลับมาแก้ไข

STEP 5 ) เมื่อเราเอา Feedback มาแก้ไขแล้วก็จะเป็นช่วง Test Stage 2 กับ Professional ด้านต่างๆขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ได้รับ เช่น ลูกค้าจะทำเกมเกี่ยวกับเด็ก ลูกค้าจะได้แต่สันนิษฐานว่าเด็กน่าจะชอบ แต่ลูกค้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวทาง ทางที่ดีคือให้เด็กเล่น แต่กว่าเด็กจะเล่นได้ต้องผ่านหลายๆอย่าง ใครที่จะสามารถตอบแทนเด็กได้ดีที่สุดก็คือผู้เชื่ยวชาญด้านเด็ก เช่น คุณครูควรสอนเด็กแบบนี้ อุปกรณ์แบบนี้สอนเด็กรู้เรื่องมั้ย เขาก็จะสามารถอธิบายได้

ในส่วน Test Stage 2 เราสามารถทำเกมหยาบๆหรือเอาของเกมอื่นมาทดแทนได้ ถ้าเขาเป็นโปรทางด้านเกม แต่ถ้าเป็นโปรด้านอื่นเขาไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ สื่อสารไม่ได้ ทำให้เขาเสียเวลาในจำ เวลาเขาจะ Comment เกมเขาถามว่าทำไมยุ่งยากจัง เข้าใจยากจัง เป็นเพราะเขาเสียเวลาไปกับการจำ  ในส่วนนี้สิ่งที่ต้องทำคือทำให้เกมสื่อสารง่าย อย่าให้เขาถูกปิดกั้นด้วยอุปกรณ์ที่ไม่สื่อสาร จึงต้องทำกราฟฟิก Art เข้ามาช่วย

ทุกครั้งที่ Test เราต้องมีสมมุติฐาน เพราะว่า Test แค่สนุกหรือไม่สนุก คือ เปล่าประโยชน์เราจะต้องTest ให้เห็นภาพรวม บรรยากาศระหว่างเล่น เกมนี้เล่นแล้วต้องสนุก ต้องมีรอยยิ้มจากการพูดคุย ถ้ามีคนหนึ่งสนุก อีกคนหนึ่งไม่สนุก มันไม่สามารถวัดได้ เขาอาจจะบอกไม่สนุกแต่ระหว่างเล่น เขาสามารถเล่นได้พูดคุยโต้เถียงได้  เขาอาจจะไม่ชอบภาพรวมแบบนี้แต่เขาก็ Enjoy ไปกับมัน ทั้งหมดคือการสร้าง Experience หรือประสบการณ์กับผู้เล่น

STEP 6 ) ต่อมาเมื่อ Art/UI  กราฟฟิคได้เรียบร้อย ด้านเนื้อหาด้านต่างๆ ได้ Approve จากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ทำการ Test กับลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเราก็ทำการผลิตและส่งมอบงาน ในการทำเกมถ้าคิดแบบ Oeverall มีแค่ คิดและ Test เท่านั้นเลยที่จะช่วยให้เกมพัมนาได้ ถ้าไม่ Test  ก็พัฒนาต่อไม่ได้

 

พี่บอสจาก Boss Lab Board Game

 

จุดเริ่มต้นของการทำบอร์ดเกม
ทำเพื่อห้องเรียนเป็นหลักและอยากให้คุณครูใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือการสอน  แต่ถ้าจะใช้นอกห้องเรียนก็ได้

 

STEP 1 )  ปกติขึ้นอยู่กับ Case by case หลักๆทำบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ก็ต้องทำการ Research เนื้อหาหลักสูตรนั้นๆ

 

STEP 2 ) สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ Content ต้องเป๊ะ สามารถนำไปสอนได้จริง Content จะเป็นตามหลักสูตรที่เด็กต้องเรียน อะไรคือ Key Concept  อะไรคือโจทย์ที่เราต้องการจะสื่อสารออกไป

 

STEP 3 ) พอรู้แล้วเราจะทำอะไรก็มาขั้น Design นี้จะเป็น Design สถานการณ์หรือ Theme ขึ้นมา เราต้องดู Content ว่ามันจะสอดคล้องกับสถานการณ์ไหน ว่า ใครทำอะไร เล่นเป็นใคร  อยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น

คุณครูชอบติดปัญหาตรงส่วนนี้ซะส่วนมากตอนทำบอร์ดเกม ครูเป็นอาชีพสร้างสถานการณ์ค่อนข้างเก่ง เช่น การสร้างสถานการณ์ในข้อสอบ เป็น Skill ที่คุณครู Make ส่วนนี้เก่ง พอลองกลับกันก็ใช้สถานการณ์คล้ายกับการสร้างข้อสอบ แต่มาสร้างสถานการณ์ในส่วนเนื้อหาของบอร์ดเกม ถ้าคุณครูจะสร้างสถานการณ์ตามเนื้อหามันจะมี scope อยู่ค่อนข้างที่จะชัดเจนอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น พฤกษาคายน้ำ เป็นกระบวนการคายน้ำของพืช สถานการณ์ที่เราเลือกมามีการใช้น้ำ แล้วมีปัจจัยต่างๆมากระทำกับมัน งั้นสถานการณ์ที่เราเลือกก็คือ ผู้เล่นทุกคนจะมีต้นไม้เป็นของตัวเอง โดยจะใช้การ์ดปัจจัยต่างๆ เช่น อย่างแดดแรงจะทำให้ต้นไม้เกิดการคลายน้ำ สุดท้ายมันก็จะอิงตามเนื้อหาในบทเรียนอยู่ดี

แต่ถ้านอกเหนือจากนี้ก็สามารถมีความแฟนตาซีเข้าไปได้อีก แต่ในกรณีนี้ เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างเบาไม่หนักเกินไป เพื่อไม่ให้เนื้อหาบิดเบือนไป แต่ถ้าเป็นเนื้อหาทบทวนบทเรียนสามารถใส่ความแฟนตาซีไปได้

 

STEP 4 )  ช่วงกลไกลก็ขึ้นอยู่ว่าช่วงนั้นกำลังอินกับอะไรอยู่ มีอยู่ช่วงหนึ่งเราอินกับ Worker placement ช่วงนั้นก็จะทำบอร์ดเกมเกี่ยวกับ worker placement เป็นองค์ประกอบเข้าไป บางช่วง Tile Placement ต่อมาก็ทำ Prototype ควบคู่ไปด้วย

 

STEP 5 ) พอทำออกมาแล้ว ก็ลองไป Test แล้วก็ Revised ไปเรื่อยๆ จนมันเข้าที่คิดว่าสมบูรณ์

 

STEP 6  )  จากนั้นเราก็ผลิต Product  ออกมาแล้วเผยแพร่

 

 

พี่อาร์ม จาก DNR Board Game

จุดเริ่มต้นของการทำบอร์ดเกม
เราเป็นคนที่ชอบเล่นเกม  ทำเกมเพื่อความสนุกตัวเอง แต่ช่วงหลังเราทำเกมเพื่อผลิตจริงและ ให้คนอื่นได้เล่นเกมของเราให้ได้มากที่สุด ให้เขาสนุกไปกับเกมของเรา

STEP 1 ) ของเราจะเริ่มจากการคิด Mechanics หลักก่อนหลังจากนั้นเราก็หา Mechanics รองมาช่วยเติมเต็ม ประกอบเกมให้มัน flow ไปด้วยกัน แต่บางครั้งเราเจอเรื่องราวที่มันอิมแพคต่อใจ เราก็จะเริ่มจาก Theme ก่อน แต่หลักๆเราเริ่มจาก Mechanics ก่อนเพราะเราค่อนข้างถนัดตรงนี้มากกว่า

STEP 2 ) จากนั้นเราก็จะทำการหา Theme มาใส่ ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับอารมณ์ว่าอยากได้เกมแนวไหน เช่น The Coding อยากได้เกมอารมณ์ปกปิด ถอดความลับของคู่ต่อสู้ให้ได้ พอคิดได้จากประมาณนี้ก็ลองเอากลไกลที่คิดไว้มาใส่ดูว่ามันจะเข้าด้วยกันได้ไหม แต่บางครั้งก็มีปัญหาเล็กน้อยเมื่อเอา Mechanics ไปลง Theme ที่หลังเพราะบางครั้งมันก็ไม่ค่อยสอดคล้องกัน ต้องพยายามไม่ให้มันนอกกรอบจนเกินไป

STEP 3 ) ต่อมาเราก็จะเริ่มทำ Prototypes ถ้าเราไม่มี Theme ตอนทำช่วงนี้ค่อนข้างลำบากเพราะผู้เล่นจะไม่สามารถเห็นภาพรวมของเกมได้เราเลยต้องทำ Art เพื่อให้ผู้เล่น flow ไปกับเกมได้ เข้าใจเกมที่จะสื่อ ทำให้เขาเห็นภาพรวมของเกม แต่ไม่ถึงขั้น Art สวยเหมือน Final Product

หลังจากทำ Prototypes เสร็จเราก็จะเอาไป Test ช่วงนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเล่นของแต่ละคนก็สำคัญเหมือนกัน เพราะแต่คนละมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป

ช่วง Test เราก็จะทำ Art พร้อมหลังจากนั้นก็นำ Feedback กลับมาแก้ไขบัคของเกม  ส่วนตัวเราคิดว่าช่วงนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะ เราเปรียบการทำบอร์ดเกมเหมือนกับการเขียนหนังสือ
เราจะผิดไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เมื่อจำหน่ายไปแล้วเราเห็นข้อผิดพลาดของงานตัวเองเราก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ก่อนจะผลิตออกไป

เราต้องทำให้มั่นใจและสมบูรณ์ที่สุด เป็นช่วงที่เราให้ความสำคัญเยอะที่สุด เพราะเราเป็นนักออกแบบ พยายามรู้ทุกรูทที่มันจะสามารถเล่นได้ คือ ผู้เล่นเจอรูทที่เราเจอ 1 ใน 20 แต่ถ้าผู้เล่นเจอรูทที่เราไม่เคยเจออย่างงี้ก็อาจจะเกิดบัค ติดขัคขึ้นมา เพราะ บอร์ดเกมไม่เหมือนเกมดิจิทัลที่จะสามารถออกแพทมาแก้ไขบัคได้ มันค่อนข้างวุ่นวายที่จะต้องประกาศให้ทุกคนรู้ว่ามีแก้ไขส่วนนี้ ใช่ว่าบางคนจะเข้าถึงข้อมูลในส่วนนั้นด้วย ช่วงนี้เราช่วงที่สำคัญสำหรับเรามาก เราพยายามตัดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุดเราที่จะทำได้

กลุ่มเป้าหมาย Test หลัก คือ นักออกแบบก่อนรอบแรก เพราะเขารู้ว่าเกมไม่สนุก รู้ข้อผิดพลาด รู้บัคของเกมได้ดีเพราะนักออกแบบมีประสบการณ์ที่ค่อนข้างเยอะ จากนั้น flow ดีขึ้นก็เริ่มเทสกับกลุ่มคนภายนอก ไม่อยากนำเกมที่ติดขัดไป Test แต่เราก็ควรนำเกมไป Test กับบุคคลที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์การเล่นเกมที่ยังไม่เข้มข้น เพื่อดูว่าเกมของเราเข้าถึงกลุ่มคนไหนได้บ้าง

STEP 4 ) ต่อมา Blind Test ก็เอา Rulebook ให้เขาไปอ่านเอง เล่นเอง เพราะอีกปัญหาหนึ่งของบอร์ดเกมคือ Rules Book เป็นช่วงที่ยากเหมือนกัน เพราะ Rulebook ต้องให้หลายคนอ่านเหมือนกัน ช่วงกันขัดเกลาให้เข้าที่ ถ้าลองกับกลุ่มคนสองกลุ่มเล่นผิดเหมือนกัน บนคู่มือเล่มเดียวกัน นั่นก็หมายความว่า กติกายังเขียนไม่เคลียร์พอ

STEP 5 ) ต้องนำกลับไปแก้ไขอีกรอบให้เข้าใจมากขึ้นต่อไป และนำ Feedback กลับมาแก้ไขบัคที่ยังมีอยู่
ช่วง Art UI Interuratface  ก็ต้อง Test เหมือนกัน Icon ก็ถือว่าเป็นหนึ่งภาษาที่คนเราจะเข้าใจได้ไม่เหมือนกัน ก็ต้องลองไป Test เหมือนกัน ว่าเขาเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อได้มั้ย ถ้า 9/10 เข้าใจก็ถือว่าผ่าน

STEP 6 ) เมื่อเราคิดว่าทุกอย่างสมบูรณ์แล้วเราก็จะทำการผลิตและ Publish เกมออกไป

 

 

ครูพี่แสน จาก นายแสน Facilitator & board game

 

 

จุดเริ่มต้นของการทำบอร์ดเกม
เริ่มมาจากที่เราเป็นนักศึกษาฝึกสอน มีความรู้สึกว่า Content วิชาสังคมมันน่าเบื่อ เราก็อยากทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาซึ่งมันก็ Out ไปแล้วแต่พอเราเห็นกระแสบอร์ดเกมที่เขากำลังฮิตกัน เราไม่มีความรู้ทางด้านนี้ เราก็เลยถอดแบบจากบอร์ดเกมที่เราเคยเล่นมาก่อน เช่น บันไดงูย้อนประวัติศาสตร์ไทยสู่ยุคปัจจุบัน เกมเศรษฐีมารวมกับตอบคำถาม หลังจากนั้นเราก็สนใจบอร์ดเกมมากขึ้นก็หาข้อมูลมาศึกษา เราไม่ได้มองว่าบอร์ดเกมให้ความสนุกอย่างเดียวแต่ทำให้เกิดกระบวนการคิดอีกด้วย

STEP 1 ) ก็คือเริ่มจาก จุดประสงค์ K P A ของการศึกษาก่อน
K (Knowledge)  คือ ความรู้
P (Practice)  คือ ทักษะ เราอยากให้เกิด co-op ความร่วมมือกันหรือการแข่งขันกัน
A คือ (Attitude) อยากให้เด็กเกิดทัศนคติอย่างไร

STEP 2 ) ต่อมาคือ Content ตรงส่วนนี้เราก็จะเอาส่วนที่สอนในหนังสือมารวมกับเรื่องนอกหนังสือเรียน เราก็พยายามหามาสอน และ มารวมกัน

STEP 3 ) จากนั้นเราก็จะสร้างสถานการณ์หรือ Theme ของเกมให้สอดคล้องกับเนื้อหา ก็คือ ความคิดรวบยอดของเกมนี้ตั้งแต่เริ่มจบจบคร่าวๆ

STEP 4 ) พอเราได้สถานการณ์ประมาณนี้แล้ว ก็ถึงช่วงออกแบบกลไก หรือ Mechanics ตรงนี้เราไม่ได้ยึดมาจากเกมใดเกมหนึ่ง แต่เราจะหา Mechanics ตามเนื้อหาและความน่าจะเป็นที่จะทำให้เกิดการแข่งขัน ความร่วมมือกัน นั้นก็หมายความว่าเป็นเกมแล้ว จากนั้นก็ทำ Prototype เตรียมไว้สำหรับ Test

STEP 5 ) ช่วง Test จะเป็นการ Test กับคุณครูด้วยกันเอง เพราะ คุณครูสามารถวิจารณ์ส่วนเนื้อหาได้ ดูความสมดุลของเกม ดูบัค ตรงนี้ควรใส่ไปในเกมไหม ตรงนี้สามารถต่อยอดไปถึงเนื้อหานี้ได้

STEP 6 ) หลังจากนั้นก็เอาไปใช้ในห้องเรียนว่ามันยากไปไหม เด็กเล่นได้รึเปล่า หนึ่งเกมเราสามารถใช้ได้แค่รอบเดียวเพราะเนื้อหาบางครั้งสอนแค่ครั้งเดียว และสอนได้ทีละ 1 ห้องเรียน มีระยะเวลาแค่ 1 คาบเรียน หรือ  50 นาที แต่ตอนไปเล่นเรามีเวลาจริงๆแค่ 30 นาทีเท่านั้นที่จะทำให้ทันต่อ 1 คาบเรียน อาจจะเล่นซ้ำก็ได้อาจจะเป็นนอกเวลาเรียน

ที่เกิดเพจนี้ขึ้นมา อยากให้คุณครูในยุคนี้ใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือในการสอนในห้องเรียนเพราะบอร์ดเกมสามารถฝึกคิดขั้นสูงได้และเกิดสีสันในห้องเรียนได้

 

พี่นานา จาก Coconut Empire

 

 

จุดเริ่มต้นของการทำบอร์ดเกม
เราพยายามหามีเดียใหม่ๆมาทำวิจัยส่งอาจารย์ เราคิดว่าบอร์ดเกมน่าสนใจ เพราะ เป็นคนที่ชอบเล่าเรื่อง เกมเป็นเครื่องมือที่เราจะทำแต่เราเขียนโค้ดไม่เป็น เลยทำสิ่งที่เราทำเป็นคือวาดรูปและไปโรงพิมพ์

STEP 1 ) การทำงานของเราก็ คือ คิดว่าจะทำเกมเลยวาดลงไปในกระดาษ จากนั้นแค่หาคนมาเล่นด้วยเฉยๆ ทำโดยไม่คิดอะไรเลย คิดแค่ว่าเอาอะไรไปเล่นกับครอบครัวดี พอเป็น Coconut ด้วยความที่มันเป็นงานที่เราจะเอาไปส่งอาจารย์ ก็คิดว่าทำยังไงให้คนโตๆมาสนใจเกมนี้ อารมณ์ประมาณ เอ๊ะ.. จะชวนใครมาเล่นดี เล่นยังไงดี ทำยังไงให้น่าสนใจดี

STEP 2 ) จากนั้นเลยเอาเกมที่เราไปวาดลงกระดาษเล่นๆ มาพัฒนากลไก พัฒนา Mechanics เป็นแนวดันเจี้ยนสู้กัน แต่ก็ต้องช่วยกันนะถึงจะชนะ ต่อมาก็ทำ Prototype  ส่วน Theme ของเกมเราหาข้อมูลจาก kickstarter เขาขายอะไรกันนะแบบไหนขายดีนะ แต่มันยังไม่ unique สำหรับเรา หาว่าเราอินกับอะไร ตอนนั้นอินกับกลางเมืองเลยเป็น Theme การเมือง มันก็เลยเป็นโจทย์ใหม่ๆ

b หลังจากนั้นเราก็ทำการค้นคว้าข้อมูลค่อนข้างเยอะ เราเลยไปหาข้อมูลมาศึกษาแบ่งเป็น 3 ด้าน
ด้านที่1 Mechanics กลไกของเกม
ด้านที่ 2 Theme เกมของเราเป็นเรื่องของการเมือง เราเลยศึกษาหาข้อมูล เรื่อง การเมือง
ด้านที่ 3 การตลาด เขาขายยังไง ทำยังไงให้คนสนใจ

STEP 4 ) ต่อมาเราก็ทำ Blind Test โดยเราจะทำ Art ทั้งหมดเลยก่อนแล้วทำการอัปโหลดไฟล์ใน Google Drive ให้คนไปโหลดเล่นแล้วรอ Feedback กลับมาว่าเขาเข้าใจแค่ไหน แล้วก็มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเพจ ช่วงนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานในการรอ Feedback

STEP 5 ) หลังจากทำ Blind Test ก็ทำการแก้ไขบัคของเกม จากนั้นเราก็คิดว่าถึงเวลาที่ต้องทำผลิตจริงๆ ก็ทำการเปิดระดมทุน ก่อนเปิดระดมทุนเราก็จ้างนักวาด วาดคร่าวๆ ของเกม พอเราได้เงินเยอะขึ้นเราก็ให้นักวาด วาดเต็มสตรีม แล้วก็ผลิตเต็มสตรีม

STEP 6 ) ช่วง Art เรามีส่วนร่วมตรงนี้ค่อนข้างน้อย เพราะส่วนนี้เรายกให้ Artist ดูแลส่วนนี้ พอเขาให้งานกลับมา เราก็ไม่แก้ไขเลย เขาให้มายังไงก็ใช้แบบนั้น เพราโดย background เราอยู่ในแวดวงนักวาดอยู่แล้ว เราก็จะรู้ว่าใครสไตล์งานเป็นยังไง เราแค่บรีพให้ชัดเจน

STEP 7 ) หลังจากนั้นก็ผลิต Product และวางจำหน่าย

 

 

 

ส่วนนี้เป็นหน้าสุดท้ายของโพสต์ก็จะขอพูดความรู้สึกตัวเองและแชร์นมุมมองหลังจากที่ได้ทำ Content นี้ออกมา

สวัสดีค่ะ ขอแทนตัวเองว่า “ปอนด์” นะคะ เป็นเด็กฝึกงานของ Wizards of Learning ค่ะ ขอพูดถึงพื้นเพของปอนด์ก่อนนะคะ ความรู้ทางด้านบอร์ดเกมก่อนเข้าฝึกงาน มั่นใจว่าฉันเรียนมาแบบนี้ ฉันคงเข้าใจอะไรง่ายๆแหละ พอมาถึง.. แง่ว ขอประเมินใหม่ว่าตัวเองน่าจะมีความรู้จริงๆเกี่ยวกับบอร์ดเกม 30/100 งั้นก็ Reset ตัวเองใหม่เป็น 0 เลยละกัน หลังจากนี้จะขอใช้เป็นรูปแบบ Q&A นะคะ เพื่อในการอ่านที่ง่ายขึ้นค่ะ (?) ꒰◍˘ꈊ˘◍꒱

Q : ทำไมเกิด Content นี้ขึ้นมา?
A : เป็นโปรเจ็คจบที่พี่เอ็กซ์มอบหมายให้ทำ คือ Content เกี่ยวกับทางการศึกษา เพราะ ปอนด์ก็เรียนทางด้านการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ตอนแรกเราไม่ได้คิดถึงว่าจะสัมภาษณ์นักพัฒนาบอร์ด ในหัวคือว้าวุ่นมาก หาจุดเริ่มต้นของตัวเองไม่ออก ขอแค่ว่าสัมภาษณ์ว่าคนใน Wizards of Learning ก็พอว่า “ จะทำบอร์ดเกมทั้งทีมีกระบวนการอะไรบ้าง” แต่ไปๆมาๆก็กลายเป็นว่าสัมภาษณ์กับนักพัฒนาบอร์ดเกมจริงๆ แล้วปอนก็เลยบอกว่า “ งั้นสัมภาษณ์ 5 คนนะคะ แล้วจะลิสต์มาว่าสัมภาษณ์ใครบ้าง ” ( ในหัวตอนนั้นคืออะไรเนี้ย 5 คนไหวจริงหรอ.. อ้ากกกกก แต่พูดไปแล้วก็ต้องไหว ฮึบสู้แหละ Σ( ° △ °|||) )

Q : ก่อนจะสัมภาษณ์เราคิดว่ากระบวนการทำบอร์ดเกมแต่ละคนเหมือนกันหมดไหม ?
A :  ปอนด์คิดว่าการทำบอร์ดเกม 1 บอร์ดเกม ทุกๆกระบวนการทำบอร์ดเกมก็เหมือนกันแตกต่างกันแค่จุดประสงค์ของการทำบอร์ดเกม ที่ ทำเพื่อใคร ทำไมต้องทำ ประมาณนี้ และคิดว่านักพัฒนาบอร์ดเกมคงจะทำงานคล้ายๆพี่เอ็กซ์แหละ ( เพราะฝึกงานที่ Wizards of Learning )

Q : พอหลังสัมภาษณ์ยังคงคิดว่ากระบวนการทำบอร์ดเกมแต่ละคนยังเหมือนกันหมดไหม?
A: โอ้ว.. โนค่ะ จะพูดว่าไม่เหมือนกันทั้งหมดก็ไม่ได้ แต่ละ Step ก็ไม่ได้เหมือนกันหมดซะทีเดียว ก็ยังมีกระบวนการที่คล้ายคลึงกันซะส่วนใหญ่ ปอนด์คิดว่าทุกๆคนมีจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำบอร์ดเกมที่ไม่เหมือนกัน เช่น

▽ พี่อาร์ม จุดเริ่มต้นเริ่มมาจากการคิดกลไกของเกม Mechanics แล้วค่อยคิด Theme เป็นลำดับถัดมา
▽ พี่นานา จุดเริ่มต้นมาจาก แค่วาดเกมลงกระดาษเล่นสนุกๆกับคนในครอบครัว จากนั้นพอคิดจริงจังก็หา Mechanics + Theme มาใส่
▽ พี่บอส จุดเริ่มต้นมาจาก ถ้าจะทำเกมก็ต้อง Research ข้อมูลเนื้อหาหลักสูตรแล้วมารวบเป็น Content ที่เนื้อหาต้องเป๊ะตามหลักสูตร
▽ พี่แสน จุดเริ่มต้นมาจากวัตถุประสงค์ K P A จากนั้น Research หาข้อมูลทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร ( อะไรที่บทเรียนไม่สอน ก็จะพยายามหามาสอนด้วย ) และรวบเป็น Content
▽ พี่เอ็กซ์ จุดเริ่มต้นมาจาก ลูกค้า ต้องการอะไร รวบรวมแนวคิดและวัตถุประสงค์ จากนั้น Set team ขึ้นมา

Q : แชร์ประโยคที่ปอนด์ประทับใจ และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับนักพัฒนาบอร์ดเกม หรือ ผู้ที่คิดจะเริ่มพัฒนาเกม
A: เอาจริงๆเราประทับใจตั้งแต่ได้เริ่มสัมภาษณ์แล้วเพราะทุกคนเฟรนลี่และพร้อมที่จะแชร์ แบ่งปัน มาให้เรา ปอนด์รู้สึกปลื้มปริ่มมาก เอ้าเริ่ม.. (/≧▽≦)/

♡ จะทำเกมสัก 1 เกมก็ควรที่จะทำ หลาย Mechanics หลาย Prototypes เราจะได้มีตัวเปรียบเทียบว่า ส่วนนี้พัฒนาต่อได้ ส่วนนี้ควรหยุด ดังนั้นการทำงานแบบหลายออฟชันคือทางที่ดีที่สุด ( พี่เอ็กซ์ จาก @Wizards of Learning )

♡ ถ้าคิดรวบยอดของการทำเกมแบบ Oeverall มีแค่ คิดและ Test เท่านั้นเลยที่จะช่วยให้เกมพัฒนาได้ ถ้าไม่ Test  ก็พัฒนาต่อไม่ได้ เราจะไม่รู้ข้อผิดพลาดของเกม ( พี่เอ็กซ์ จาก @Wizards of Learning )

♡ ปัญหาของการคิด Theme เกมสำหรับคุณครู ส่วนนี้ค่อนข้างเป็นปัญหาแต่อย่าลืมว่าคุณครูเป็นอาชีพที่สร้างสถานการณ์เก่งในการสร้างโจทย์ข้อสอบ หรือ บทเรียน ลองกลับกันถ้าคุณครูมีเนื้อหาสำหรับที่จะทำเกมอยู่แล้วก็สามารถสร้างสถานการณ์ตามเนื้อหาได้เลย เพราะมันจะ Scope ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว  ( พี่บอสจาก @Boss Lab Board Game )

♡ อยากให้คุณครูในยุคนี้ใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือในการสอนในห้องเรียนเพราะบอร์ดเกมสามารถฝึกคิดขั้นสูงได้และเกิดสีสันในห้องเรียนได้  ( ครูพี่แสน จาก นายแสน Facilitator & board game )

♡ เราเปรียบการทำบอร์ดเกมเหมือนกับการเขียนหนังสือ เราจะผิดไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เมื่อจำหน่ายไปแล้วเราเห็นข้อผิดพลาดของงานตัวเองเราก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ( พี่อาร์ม จาก @DNR Board Game )

♡ บอร์ดเกมไม่เหมือนเกมดิจิทัลที่จะสามารถออกแพทมาแก้ไขบัคได้ มันค่อนข้างวุ่นวายที่จะต้องประกาศให้ทุกคนรู้ว่ามีแก้ไขส่วนนี้ ใช่ว่าบางคนจะเข้าถึงข้อมูลในส่วนนั้นด้วย พยายามตัดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุดเราที่จะทำได้ ( พี่อาร์ม จาก @DNR Board Game

♡ อีกปัญหาหนึ่งของบอร์ดเกมคือ Rulebook เป็นช่วงที่ยากเหมือนกัน เพราะ Rulebook ต้องให้หลายคนอ่านเหมือนกัน ช่วงกันขัดเกลาให้เข้าที่ ถ้าลองกับกลุ่มคนสองกลุ่มเล่นผิดเหมือนกัน บนคู่มือเล่มเดียวกัน นั่นก็หมายความว่า กติกายังเขียนไม่เคลียร์พอ ( พี่อาร์ม จาก @DNR Board Game )

♡ เราพยายามหาข้อมูลจาก kickstarter ได้ว่าเขาขายอะไรกันนะแบบไหนขายดีนะ แต่มันยังไม่ unique สำหรับเรา หาว่าเราอินกับอะไร ตอนนั้นอินกับกลางเมืองเลยเป็น Theme การเมือง มันก็เลยเป็นโจทย์ใหม่ๆ ( พี่นานา จาก Coconut Empire )

Q : จะฝากถึงผู้ที่จะเริ่มพัฒนาเกม หรือ รุ่นน้องในสาขาของเราที่คิดจะทำบอร์ดเกม
A : หาจุดที่ตัวเองถนัดเป็นตัวตั้งต้น จากนั้นมันก็จะเป็น Step ของมันไปคงจะไม่แตกต่างจากนักพัฒนาเกมคนอื่นๆ ไปมากเท่าไหร่ เพราะสุดท้ายทุกคนก็มี Step การทำงานบางขั้นตอนที่เหมือนกันหรือบาง Step จะอยู่ก่อนหรืออยู่หลัง แค่ขึ้นอยู่ว่าแต่ละคนนั้นถนัดที่จะเริ่มต้นจากอะไรก่อน เป็นกำลังใจให้นะคะ (。→‿←。)

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่ๆทุกคน ที่ให้สัมภาษณ์อย่างเฟรนลี่ ตอนแรกค่อนข้างเกร็งมากในตอนสัมภาษณ์แต่หลังจากนั้นรู้สึก Relax มากเพราะพี่ๆทุกคนเป็นกันเอง ผิดพลาดตรงไหนสามารถติ เสนอแนะได้นะคะ จะพยายามให้มากกว่านี้ค่ะ และขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านจนจบถึงบรรทัดนี้ หน้านี้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ ! ( ไหว้ย่อ (◡‿◡❀) )

 

 

No Comments

Post A Comment